สภาพทั่วไปของบ้านแม่จองไฟ
หมู่ที่ ๒ เทศบาลตำบลแม่ลานนา อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ประวัติความเป็นมาของ หมู่บ้านแม่จองไฟ
เมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปี ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในประเทศพม่า หลายกลุ่ม ถูกพม่าโจมตี เนื่องมาจากสาเหตุปัญหาการปกครอง ต้องอพยพ หลบหนี เข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทย โดยตั้งรกรากอยู่บริเวณพื้นที่ ภูเขาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมา ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงหลายกลุ่ม ได้อพยพหนีพม่ามาตามเส้นทางเดินเขา ผ่านจังหวัดลำปาง ผ่านแม่ทะ เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณห้วยแม่มอญ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ต่อมาได้แตกกลุ่มกันอีก เรื่องผิดประเพณี(ผิดผี) ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่จองไฟ แยกออกมาตั้งบ้านเรือนที่ห้วยแม่จองไฟ ซึ่งเป็นที่ราบระหว่างหุมเขา หลังจากนั้นก็ย้ายขึ้นมาอยู่เชิงเขาบ้านแม่จองไฟในปัจจุบัน เพราะสถานที่เดิมได้เป็นที่เพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๘ บ้านแม่จองไฟได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาสมัครและป้องกันตนเอง(อพป.)
สภาพทั่วไปของบ้านแม่จองไฟ
จำนวนประชากร จากการสำรวจประชากรทั้งหมด ๕๗๔ คน ชาย ๓๐๕ คนหญิง ๒๖๙ คน จำนวนครอบครัว ๑๔๓ ครอบครัว จำนวน ๑๓๕ ครัวเรือน
ลักษณะพื้นที่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขา และพื้นที่ป่าเบญจพรรณ มีไม้เศรษฐกิจคือ ไม้สัก ไม้มะค่า โมง ประดู่ ประสมไม้ใผ่ และของป่าเช่น หวาย ชัน มีสัตว์ป่า เช่น งู กระรอก หมูป่า นกชนิดต่างๆ ป่ามีความสมบูรณ์ ๑๐๐ % (จำนวน ๒,๐๐๐ ไร่) มีพื้นที่ราบ เพียง ๓๐ % ของพื้นที่ทั้งหมด ราษฎร ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา เป็นส่วนใหญ่
ลักษณะที่ตั้ง บ้านแม่จองไฟ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่พิกัดที่ ๘๕๖๐๖๐ พื้นที่ทั้งหมด อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาน-แม่กาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอลอง เป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ ๕๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๘,๘๗๕ ไร่ ปัจจุบัน ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาสมัครและป้องกันตนเอง(อพป.) มีอาณาเขต ติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านแม่เกี่ยม ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านเค็ม ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านนาแก ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ประเพณีการแต่งกาย
ชุดแต่งกายของผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะใส่ชุดสีขาวยาว เหมือนชุดนอน เรียกว่า “สุ่มร่อง” จนถึง น่องมีความหมายว่า เป็นผู้หญิงที่ยังบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่าผู้หญิงคนนั้นจะมีอายุมากแล้วก็ตาม ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็จะใส่ชุดนี้ตลอดไปแต่งงานแล้ว
ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดสุ่มร่องสีขาว เป็นชุดผ้าถุงสีแดง แต่งเติมสีอื่นบ้างเล็กน้อย ส่วนเสื้อนั้นใช้ผ้าพื้นสีดำติดลูกเดือยและแต่งด้วยสีต่าง ๆ ตามความต้องการเสื้อนี้ เรียกว่า “เสื้อลูกเดือย”
ชุดแต่งกายของผู้ชาย ผู้ชาย การแต่งกายชุดผ้าแดง กางเกงเป็นโสร่ง เสื้อผ้าฝ้ายทอด้วยมือ แต่งงาน หรือที่ยังไม่แต่งงาน การแต่งกายจะเหมือนกัน
การดำรงชีวิต ส่วนใหญ่จะทำนา และเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย ควาย หมู ไก่ อุปนิสัยเรียบง่าย อาศัยอยู่ตามธรรมชาติทั้งคนและสัตว์อยู่ใกล้ชิดกัน มักจะไม่ค่อยรักษาความสะอาดต่อคนเองและส่วนรวม
ประเพณีและพิธีกรรม ประกอบด้วย
ประเพณีกำบ้าน จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง
ในวันประกอบพิธีกรรมชาวบ้านจะทำการปิดหมู่บ้านไม่ให้คนนอกเข้า โดยใช้เลือดหมูและเลือดไก่ ติดที่ตะแหล๋ว แล้วนำไปติดไว้บริเวณทางเข้าหมู่บ้าน เป็นสัญลักษณ์ว่า ห้ามคนนอกเข้าในหมู่บ้าน ขณะทำพิธีหากมีคนนอกเข้ามาจะทำให้ผิดผี จะต้องทำพิธีใหม่ให้หมด คนที่เข้ามาจะต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธี ใหม่ทั้งหมด พิธีกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๒๒.๐๐น.
ขั้นตอนการประกอบพิธี
(๑)ปิดหมู่บ้านไม่ให้คนนอกเข้าไปในหมู่บ้าน โดยปิดตั้งแต่ เวลา ๐๘.๐๐น. ถึงเช้าวันถัดไป
(๒) ทั้งหมู่บ้านจะนำหมู ๑ ตัว และทุกหลังคาเรือนจะต้องนำไก่ ๑ ตัว และเหล้าขาว ๑ ขวด มารวมกันที่สถานประกอบพิธี(โรงผี)
(๓)บุคคลที่จะเข้าในพิธีจะต้องเป็นผู้ชายสวมผ้าของชนเผ่ากะเหรี่ยง(ผ้าต้อยเต็บ)
(๔)นำหมูและไก่ที่นำมารวมกันทั้งหมดต้มให้สุกแล้วนำขึ้นถวายศาลเจ้า(ผีชาวบ้าน)
(๕)นำเหล้าไปขอพรจากเก๊าผี(ประธานการประกอบพิธี)ซึ่งมีทั้งหมด๓คน
(๖หลังจากนั้นนำเหล้ามาแจกกันดื่มจนเหล้าหมด
(๗)เอาไก่และหมูใส่กระด้งแล้วยกขึ้นเหนือศรีษะเพื่อขอพรจากศาลเจ้า
(๘)แล้วยกลงให้เก๊าผีกินก่อนแล้วแบ่งให้ลูกบ้านที่มาร่วมพิธีกินเป็นอันเสร็จพิธี
(๙) นำหมูและไก่ที่ยำไว้มากินที่บ้าน
ประเพณีปีใหม่ (อังปี้มัย)จะจัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง ในเดือนมิถุนายน ใช้เวลาในการประกอบพิธีทั้งหมด ๓ วัน คือ
วันที่ ๑ วันดา (วันเตรียม) ทุกหลังคาเรือนจะต้องเตรียมไก่ ๒ ตัว เหล้าขาว ๒ ขวด ทำขนมห่อใบตองก๋ง เพื่อนำไปประกอบพิธีผูกข้อมือในวันปีใหม่
วันที่ ๒ วันปีใหม่
(๑) แต่ละหลังคาเรือนจะนำไก่ไปที่ประตูบ้านของตนและทำพิธีเรียกขวัญ สมาชิกในครอบครัว เมื่อทำพิธีเรียกขวัญเสร็จก็ฆ่าไก่ที่ประตูบ้านที่ทำพิธีแล้วนำไก่เข้ามาในบ้าน
(๒) นำไก่ไปต้มให้สุก แล้วนำมาใส่กระด้งไม้ (กั๊วข้าว) ซึ่งภายในประกอบไปด้วยข้าวเหนียว ๑ ปั้น ขนมใบตองกง ๓ หัว เหล้าขาว ๑ ขวด ด้ายสำหรับใช้ผูกข้อมือ กล้วย ๑ ลูก น้ำ ๑ แก้ว
(๓)เชิญผู้อาวุโสในหมู่บ้านมาทำพิธีผูกข้อมือและกวาดน้ำ (ใช้เหล้าแทนน้ำ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เจ้าที่และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
(๔)เมื่อเสร็จพิธีนำไก่มาปรุงและรับประทานร่วมกันเจ้าของบ้านนำเหล้ามาคาราวะผู้นำร่วมพิธี
(๕) ทุกครัวเรือนจะเตรียมน้ำอบน้ำหอมไปที่บ้านเก๊าผี เพื่อทำพิธีรดน้ำดำหัวให้กับกลองมโหระทึก (ฆ้องกบ) ผู้นำพิธีกรรม ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน จากนั้นมีการสังสรรค์ตลอดวัน
วันที่ ๓ ทำพิธีกรรมบ้าน ปิดหมู่บ้านไม่ให้คนนอกเข้า
พิธีสงเคราะห์บ้าน จัดขึ้นปีละ ๑ ครั้ง ในเดือน ๕ เหนือ (กุมภาพันธ์)
พิธีสงเคราะห์บ้าน
ขั้นตอนการประกอบพิธี
(๑) ทุกครัวเรือนจะเตรียมเก็บใบผลไม้ที่ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบมะม่วง ใบมะขาม ใบมะนาว นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วนำมาคลุก กับพริก เกลือ หอม ปลาร้า เรียกว่า แกงส้มแกงหวาน นำของที่เตรียมไว้ไปยังสถานที่ประกอบพิธี
(๒) สถานที่ประกอบพิธีชาวบ้าน เตรียมไก่และเหล้า ขัดแตะ ๔ อัน (ไม้ไผ่สานคล้ายกระด้ง) นำแกงส้มแกงหวาน ของแต่ละบ้านมารวมกันในขัดแตะที่วางบนไม้ไผ่คล้ายที่ดักปลา
(๓) ผู้อาวุโสของหมู่บ้านนำไก่มาเชือดและต้มให้สุก เพื่อประกอบพิธี มีการยิงปืนเพื่อไล่เสนียดจัญไร จากนั้นผู้นำหมู่บ้านจะนำขัดแตะทั้ง ๔ อันไปเก็บขี้เถ้าแต่ละหลังคาเรือน (เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข) เมื่อเก็บขี้เถ้าทุกหลังคาเรือนแล้วจะนำขัดแตะทั้ง๔อันไปทิ้งตามทิศต่างๆรองหมู่บ้านแล้วยิงปืน
(๕)ผู้อาวุโสทำพิธีเซ่นไหว้ผีและให้หญิงหม้ายในพิธี๒คนให้พรเป็นอันเสร็จพิธี
(๕) นำไก่มาปรุงให้ผู้เข้าร่วมพิธีรับประทานร่วมกัน
ศาสนา/ความเชื่อและการเคารพนับถือ ชาวบ้านแม่จองไฟนับถือศษวนาพุทธ มีความเชื่อในผีและจิตวัญญาณของบรรพบุรุษ ซึ่งการแสดงออกถึงการนับถือผีนั้น คือการรักษา บำบัดการเจ็บไข้ จะมีการบนบานและมีการเลี้ยงผี ถ้าอาการเจ็บป่วยหาย และมีการทำบุญตักบาตร การถือศีล ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งการไปวัดหรือการทำบุญ จะไปทำบุญที่วัดใกล้บ้าน เพราะที่บ้านแม่จองไฟนี้ไม่มีวัดการปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาวะผู้นำ(ที่เป็นธรรมชาติ/ไม่เป็นธรรมชาติ) การปกครองส่วนท้องถิ่นของหมู่บ้านแม่จองไฟ ขึ้นอยู่กับเทศบาลตำบลแม่ลานนา อำเภอลอง จังหวัดแพร่ การปกครองในรูปแบบของการปกครองในหมู่บ้านมีการตั้งกรรมการหมู่บ้านแบ่งหน้าที่ในการบริหารการทำงานในหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในการบริหารจัดการดูแลความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน ปัจจุบันมี นายศรักษ์ ชุมภู(ผู้ใหญ่เมา) เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ในส่วนของการเป็นผู้นำหมู่บ้านแบบไม่เป็นทางการ นั้น ชาวบ้านยึดถือตามความมีอาวุโส และมีการนับถือเชื่อฟังในส่วนของการเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมตามวัฒนธรรมความเชื่อของชนเผ่า ซึ่งเรียกว่า เก๊าผี เป็นผู้นำที่ชาวบ้านนับถือและให้ความเคารพ คือ นายคำ เกี๋ยงดู
ระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฏเกณฑ์ของคนในชุมชน ในการจัดระเบียบ ข้อปฏิบัติของคนในชุมชนที่มีการตั้งขึ้นมาเพื่อใช้กับคนในหมู่บ้าน คนนอกหมู่บ้าน เช่น การะเลาะเบาะแว้ง การร่วมมือกันปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ จะมีการประชุมก่อนจะมีการตัดสินใจดำเนินการใดๆตามข้อตกลงนั้นๆซึ่งต้องยึดถือข้อบังคับ ข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน เช่น การทำลายป่า การหาปลา การชกต่อยกัน การยิงปืนในหมู่บ้าน เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการและระบบกรรมสิทธิ์ บ้านแม่จองไฟ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ ป่าชุมชน โดยมีการจัดให้มีการอนุรักษ์ พิทักษ์ป่าโดยชาวบ้านช่วยกันดูแลและหวงแหนไม่เกิดการทำลาย มีการบริหารโดยส่วนบริหารจัดการพื้นที่ป่าที่ ๑๓ สวนป่าแม่ลาน-แม่กาง กำกับดูแลอีก และการจัดระบบกรรมสิทธิ์ในการถือครอง นั้น ยังไม่มีการจัดระบบแต่ชาวบ้านก็เกิดการสมัครใจในการดูแลและอนุรักษ์ป่าของพื้นที่หมู่บ้านเป็นอย่างดี
สภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตร การทำนา เลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพนอกเหนือจากการเกษตร จะเป็นการรับจ้างทั่วไป และการออกไปทำงานต่างถิ่น ต่างจังหวัด และมีการประกอบอาชีพส่วนตัว เช่นการค้าขาย การรับราชการ การเป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการ เป็นต้น
การจัดการผลผลิต การจัดการผลผลิตนั้น จะมีการจัดการกันเองในหมู่บ้าน เป็นการแลกเปลี่ยนผลิตผลกันระหว่างคนในชุมน หมู่บ้าน ที่เป็นบางครั้ง จะมีการเข้ามาจัดการผลผลิตของคนนอกหมู่บ้าน ในกรณีที่ผลผลิตตรงตามต้องการและมีจำนวนมาก หรือการผลิตนั้นเป็นการรับสั่งทำ เช่น การทอผ้า การทำการจักสาน เป็นต้น
การใช้แรงงาน(ครอบครัว/ภายในชุมชน/แรงงานภายนอก) การใช้แรงงานในด้านการทำการเกษตร นั้น จะเป็นการใช้แรงงานในครอบครัว ในหมู่บ้าน เป็นการช่วยกัน เรียกว่า การเอาแรง การลงแขก การเอามื้อกัน และจะมีการใช้แรงงานคืนตามระยะเวลา จำนวนวันที่ได้ช่วยกัน หรือได้แลกเปลี่ยนกัน เช่น การปลูกข้าว การเก็บเกี่ยวข้าว เป็นต้น